• 034-872-133
  • จันทร์-ศุกร์ 8:00-17:00 น.

บทความ

ทำความรู้จัก สายไฟ และ ประเภทสายไฟ

สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสายไฟประกอบไปด้วย ตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะทำจากโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย เช่น ทองแดง และฉนวนไฟฟ้า ที่ใช้ในการหุ้มป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กับสายโดยตรง และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าด้วย 

ประเภทของ สายไฟ

1. สายไฟแรงดันต่ำ

สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ (750V) สายไฟนั้นทำด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง สายขนาดเล็ก จะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว ฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE

1. สายไฟชนิด THW สายไฟชนิด THW จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ รองรับแรงดันได้ 750V เป็นสายชนิดเดี่ยว มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ ซึ่งสายไฟชนิดนี้ ไม่เหมาะสำหรับการเดินฝังดินโดยตรง และเมื่อต้องการเดินลอยจะต้องยึดสายด้วย Insulator ด้วย

2. สายไฟชนิด VAF สายไฟชนิด VAF จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 300V มีทั้งชนิดสายเดี่ยว สายคู่ และแบบสามสายที่รวมสายดินไปด้วย โดยที่แต่ละสายก็จะมีฉนวนหุ้ม และมีเปลือกหุ้มที่เป็นฉนวนอยู่อีกชั้นหนึ่งด้านนอก เป็นสายไฟชนิดที่นิยมในการเดินภายในบ้านทั่วไป แต่ไม่สามารถใช้งานในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสได้ เพราะไม่สามารถรองรับแรงดันที่ 380V ได้ ยกเว้นจะติดตั้งแบบแยกเป็นแบบ 1 เฟส และใช้แรงดัน 220V

3. สายไฟชนิด VCT สายไฟชนิด VCT จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 750V ตัวสายมีลักษณะกลม มีทั้งชนิด 1 ,2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน โดยจุดเด่นของสายชนิดนี้ คือ จะเป็นสายที่ประกอบด้วยสายทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ จึงทำให้สายมีความอ่อนตัว และทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี และยังเป็นสายที่สามารถต่อลงดินได้

4. สายไฟชนิด NYY สายไฟชนิด NYY เป็นสายไฟชนิดกลม ที่สามารถทนแรงดันได้ 750V มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน เป็นสายที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น จึงสามารถป้องกันความเสียหายทางกายภาพได้ดี โดยสายชนิดนี้ สามารถเดินฝังใต้ดินได้

2. สายไฟแรงดันสูง

จะเป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่ สายชนิดนี้ จะมีทั้งสายแบบทั้งแบบเปลือย และหุ้มฉนวน สายไฟสามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1KV ~ 36KV

ชนิดของสายไฟแรงดันสูง

1. สายไฟฟ้าอลูมิเนียมตีเกลียวชนิดเปลือย (AAC) เป็นสายที่ใช้ตัวนำเป็นอะลูมิเนียมพันตีเกลียวเป็นชั้น ๆ สายชนิดนี้ สามารถรับแรงดันได้ต่ำ จึงไม่สามารถขึงสายให้กับเสาที่มีระยะห่างมาก ๆ ได้ โดยทั่วไปจะไม่เกิน 50 เมตร ยกเว้นสายที่มีขนาด 95 มิลลิเมตร ขึ้นไปอาจจะขึงได้ถึง 100 เมตร

2. สายไฟฟ้าอลูมิเนียมชนิดผสม (AAAC) เป็นสายที่ผสมตัวนำจากหลายวัสดุ ทั้งอะลูมิเนียม, แมกนีเซียม และซิลิคอน ทำให้มีความเหนียว และแรงดันได้สูงกว่า สายอะลูมิเนียมล้วน ๆ ทำให้ขึงสายได้ในระยะห่างได้มากขึ้น และทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือได้ดี จึงนิยมใช้เดินสายในบริเวณชายทะเล

3. สายไฟฟ้าอลูมิเนียมชนิดแกนเหล็ก (ACSR) เป็นสายไฟที่ใช้ตัวน้ำเป็นอะลูมีเนียมตีเกลียว และมีสายเหล็กอยู่ตรงกลาง ทำให้สามารถรับแรงดึงได้สูงขึ้น ทำให้สามารถขยายระยะห่างระหว่างเสาในการขึงได้มากขึ้น แต่สายชนิดนี้ ไม่ทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือ จึงไม่ควรใช้งานบริเวณชายทะเล

4. สาย Partial Insulated Cable (PIC) เป็นสายไฟชนิดที่นำมาใช้แทนสายเปลือย เพราะสายเปลือยมีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย โดยสายชนิดนี้ ประกอบด้วยตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียว แล้วหุ้มด้วยฉนวน XLPE แต่ถึงแม้ว่าสายนี้จะหุ้มฉนวนจริง แต่เป็นเพียงฉนวนที่ช่วยป้องกันการลัดวงจรเพียงเท่านั้น ห้ามสัมผัสโดยตรง

5. สาย Space Aerial Cable (SAC) เป็นสายไฟที่มีอะลูมิเนียมตีเกลียวเป็นตัวนำ และหุ้มด้วยฉนวน XLPE เช่นเดียวกันกับสายไฟชนิด PIC แต่จะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีความทนทานมากกว่าสายชนิด PIC แต่ถึงแม้ว่าจะหุ้มเปลือกอีกชั้น ก็ไม่ควรแตะต้องโดยตรงเช่นกัน แต่สายชนิดนี้ ก็สามารถวางใกล้กันได้มากกว่าสาย PIC

6. สาย Preassembiy Aerial Cable (PAC) เป็นสายไฟที่จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสายไฟชนิด XLPE มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียม มีความทนทานมาก เป็นสายที่วางใกล้กันได้ สามารถเดินผ่านอาคาร หรือบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่ หรือวางพาดไปกับมุมตึกได้

7. สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE) เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน ดังนี้ ตัวนำ : โดยส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงตีเกลียว ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Copper Concentric Strand หรือ Copper Compact Strand ชีลด์ของตัวนำ : ทำจากสารกึ่งตัวนึง ทำให้สนามไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับฉนวนกระจายได้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดการเกิด Breakdown ฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มห่อชั้นชีลด์ของตัวน้ำอีกชั้นหนึ่ง ทำด้วยฉนวน XLPE ชีลด์ของฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มทับชั้นของฉนวนอีกที และหุ้มด้วยชั้นของลวดทองแดง หรือเทปทองแดงอีกที เพื่อจำกัดสนามไฟฟ้าให้อยู่ภายในสายเคเบิ้ล ป้องกันการรบกวน และการต่อชีลด์ลงดินจะช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสถูกสายเคเบิ้ลด้วย ทำให้การกระจายของแรงดันอย่างสม่ำเสมอ เปลือกนอก : โดยทั่วไปจะหุ้มด้วยพลาสติก PVC หรือ PE ขึ้นอยุ่กับลักษณะของงาน โดยทั่วไปถ้าใช้งานกลางแจ้งจะใช้เป็น PVC ส่วน PE มักจะใช้กับการเดินลอย เพราะมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และถ้าหากเดินใต้ดินอาจจะมีชั้นของ Service Tape อาจจะทำด้วยผ้า คั่นระหว่างชีลด์กับเปลือกนอก ช่วยป้องกันการเสียดสี และกระทบกระแทก

ขอบคุณข้อมูล
tisi.go.th

เกี่ยวกับเรา

ผู้ผลิต และจัดจำหน่าย สายไฟฟ้า แบรนด์ Nocon ที่ได้รับมาตราฐานการผลิต จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริษัทมีความเชี่ยวชาญ ใช้วัตถุดิบ และ กระบวนการผลิตที่ทันสมัย นำมาสู่สินค้าที่มีคุณภาพสู่ตลาด

ติดต่อเรา

บริษัท ไทยสมุทร เคเบิ้ล จำกัด
123/5 หมู่ที่ 5
ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง
จ.สมุทรสาคร
74000
โทรศัพท์ : 034-872-133
โทรสาร : 034-872-122
www.nocon.co.th

รูปภาพ

No Images